ข้อตกลงในการพัฒนางาน

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ (ทุกสังกัด) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566ระหว่างวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2566

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

  1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในหน่วยงานการศึกษาที่รับผิดชอบ

ประเด็นที่ท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในหน่วยงานการศึกษา ที่รับผิดชอบ ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา เพื่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับ การปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย เรื่อง รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพื่อพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อการจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

1. สภาพปัญหาการจัดการจัดการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา

          ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้น จึงมีแนวคิดทำวิจัยเรื่อง รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพื่อพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครขึ้น เพื่อให้ครูสามารถผลิตสื่อ นวัตกรรม ตลอดจนเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

          กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

          วิธีการดำเนินการ ใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้

                      2.1 การวางแผนการดำเนินงาน (Planning-P) เป็นขั้นตอนที่ผู้มีส่วนร่วมใน
การดำเนินงานทุกฝ่ายจะประชุมหารือกันถึงปัญหาในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนควรแก้ไขก่อน และหรือนโยบายในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยจะระดมสมองหาความต้องการจำเป็น (Need Assessment) ในเรื่องที่จะต้องมีการนิเทศ รวมทั้งร่วมกันวางแผนและกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานนิเทศ ซึ่งอาจจะดำเนินการในลักษณะของงานหรือโครงการนิเทศเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอน

                      2.2 การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน (Informing-I) เป็นขั้นตอนของการทำความเข้าใจกระบวนการนิเทศทั้งระบบ และวิธีการดำเนินงานในแต่ละขั้นของการนิเทศ เพื่อให้ผู้ดำเนินงาน
มีความรู้ ความเข้าใจในทักษะและมีเทคนิคในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนนี้นอกจากจะเป็นการช่วยให้ผู้ดำเนินงานสามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพแล้วยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจ
ในการทำงานให้แก่ผู้ดำเนินงานอีกด้วย

                      2.3 การปฏิบัติงานตามแผน (Doing – D) เมื่อผู้ดำเนินงานได้ผ่านขั้นตอนการวางแผนและขั้นตอนการเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานไปแล้ว การปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนของผู้ให้การนิเทศ ผู้รับการนิเทศ และผู้สนับสนุนการนิเทศก็จะดำเนินไปตามปฏิทินปฏิบัติงานที่ได้ตกลงร่วมกันและกำหนดไว้ในแผน โดยจะได้รับความช่วยเหลือและขอความร่วมมือจากผู้นิเทศภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์ ครูผู้ร่วมนิเทศ ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน และเครือข่ายจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้นิเทศภายในโรงเรียนเช่น หัวหน้ากลุ่มสาระ คู่สัญญา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและผู้บริหารสถานศึกษา

                      2.4 การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation – E) การประเมินผลการปฏิบัติงานหรือโครงการนิเทศ ควรดำเนินการประเมินทั้งระบบเพื่อให้ทราบประสิทธิภาพของโครงการจึงควรจะประเมินสิ่งต่าง ๆ ตามลำดับของความสำคัญ ดังนี้

                              2.4.1 ผลผลิตที่ได้จากการนิเทศ (Output)  คือ สัมฤทธิ์ผลิตการเรียนของผู้เรียน และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับการนิเทศตามเป้าหมายของการนิเทศนั้น ได้แก่ ผลที่เกิดขึ้นจากการนิเทศ (ระดับความสามารถในการทำงานของผู้รับการนิเทศ การเพิ่มจำนวนของบุคลากรที่มีคุณภาพภายในหน่วยงาน ความตั้งใจในการทำงานของบุคลากร และความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยงาน) และผลที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการนิเทศ (เจตคติของผู้รับการนิเทศที่มีต่องานและต่อผู้ร่วมงาน ระดับความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันของผู้รับการนิเทศที่มีต่อเป้าหมายในการทำงาน ระดับของจุดมุ่งหมายที่จัดตั้งขึ้น ระดับความร่วมมือร่วมใจที่มีต่อกลุ่มทำงาน ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในตนเอง เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา และความรู้สึกของผู้รับการนิเทศที่มีต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน)

                              2.4.2 กระบวนการดำเนินงาน (Process) คือ ความเหมาะสมของขั้นตอนใน
การทำงาน ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศและบรรยากาศในการทำงาน

                              2.4.3 ปัจจัยป้อนเข้า (Input) คือ การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการนิเทศ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ งบประมาณการเงิน รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ

                      2.5 การเผยแพร่ขยายผล (Diffusing – D)  ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน  ส่วนการขยายเครือข่ายการดำเนินงานนิเทศ โดยใช้เทคนิคการขายความคิด ให้เกิดความเชื่อถือ ศรัทธา แล้วจึงใช้เทคนิคการเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมทีละน้อย ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพหรืออุดมการณ์จนเกิดความพร้อมที่จะเข้าร่วมดำเนินการด้วยอย่างเต็มตัวในฐานะ “ครูปฏิบัติการ” หรือ ฐานะ “คู่สัญญา” และเมื่อดำเนินการได้ผลดีมีเครือข่ายแนวร่วมเพิ่มมากขึ้น ครูปฏิบัติการก็จะได้ปรับเปลี่ยนบทบาทขึ้นเป็นผู้นิเทศเครือข่ายผู้ปฏิบัติการรุ่นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการให้แรงเสริมแก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือเรียกว่า ใช้เทคนิค “การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์” นับว่าเป็นกลวิธีการเผยแพร่และขยายผลที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นความพร้อมหรือความสมัครใจของครูเป็นหลัก  ขั้นเสริมการร่วมใจและการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ (Cooperating – C, Reinforcing – R)  นับว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ผลการดำเนินงานได้ทั้งคน งาน และจิตใจที่ผูกพันอยู่กับงาน

 3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

          3.1 เชิงปริมาณ

                   3.1.1 สถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 70 มีการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีประสิทธิภาพ

                   3.1.2 ครู ของสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 70 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์เพิ่มมากขึ้น

3.2 เชิงคุณภาพ

                   3.2.1 คุณภาพของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อ
การจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ

                   3.2.2 ครูมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ที่เหมาะสม

ดาวน์โหลดข้อตกลงในการพัฒนางาน PDF